วันนี้ ขอนำ ผลสำรวจที่พบว่า เด็กไทย อายุ 6 เดือนถึง 12 ปี ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน เข้าข่ายเป็น "โรคอ้วน" และ โรคขาดสารอาหาร กันเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงนะคะ
ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ร่วมกันแถลงผล โครงการสำรวจภาวะโภชนาการและสุขภาพเด็กในภูมิภาคอาเซียน (The South East Asia Nutrition Survey ; SEANUTS) ซึ่งใช้เวลาสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นเด็กไทย อายุตั้งแต่ 6 เดือนถึง 12 ปี จำนวน 3,100 คน จากทั่วประเทศ โดยใช้ระยะเวลาสำรวจ 18 เดือน
ซึ่งผลจากการสำรวจ พบว่า โดยร้อยละ 20 ของเด็กไทย อายุ 6 เดือนถึง 12 ปี ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน เข้าข่ายเป็น "โรคอ้วน" อันเนื่องจาก พฤติกรรมในการบริโภค และได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินความต้องการของร่างกาย และไม่ถูกต้อง ตามหลักโภชนาการ
และร้อยละ 60-70 ของเด็กไทย อายุ 6 เดือนถึง 12 ปี ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน บริโภคอาหารที่ให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินดี อาจส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กในด้านที่สำคัญ เช่น การเรียนรู้ และร่างกายแคระแกร็นเป็นต้น
จากผลการสำรวจนี้ คงต้องขอความร่วมมือจากทุกท่าน ช่วยกันให้ความรู้ที่ถูกต้องให้กับพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง เพื่อนำไปสอนให้ลูกกินอาหารให้ถูกต้อง ครบทั้ง 5 หมู่ กินผักผลไม้ที่มีประโยชน์ และช่วยกันดูแล ให้มีวินัยในการกินและการออกกำลังกายกลางแดดบ้างนะคะ
ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กๆ กินแต่ขนมขบเคี้ยว แป้งกับน้ำมัน กันตามใจชอบ แล้วก็ปล่อยให้นั่งเล่นเกม อยู่หน้าจอคอมฯ หรือ โทรศัพท์มือถือ กินไปเล่นเกมไปตลอดทั้งวัน โดยไม่มีกิจกรรมอื่นๆ หรือให้ได้ออกกำลังกายบ้างเลยนะคะ
ไม่ใช่ปล่อยให้เด็กๆ กินแต่ขนมขบเคี้ยว แป้งกับน้ำมัน กันตามใจชอบ แล้วก็ปล่อยให้นั่งเล่นเกม อยู่หน้าจอคอมฯ หรือ โทรศัพท์มือถือ กินไปเล่นเกมไปตลอดทั้งวัน โดยไม่มีกิจกรรมอื่นๆ หรือให้ได้ออกกำลังกายบ้างเลยนะคะ