สวัสดีค่ะ วันนี้ iFatter มีผลการวิจัยมาฝากนะคะ เป็นผลการวิจัยมหาวิทยาลัยโคโลราโด ระบุว่า การนอนน้อย หรืออดนอนเพียงอย่างเดียวไม่ได้ทำให้น้ำหนักเพิ่ม แต่เมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะนำไปสู่ การรับประทานอาหารมากขึ้น คือกินเข้าไปมากกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญได้
เนื่องจาก เมื่อคนเราตื่นนานกว่า ก็ต้องการพลังงานมากกว่า แต่ปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้น มากกว่าแคลลอรีที่ถูกเผาผลาญ จึงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
การวิจัยครั้งนี้นักวิจัยมีผู้เข้าร่วมเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวรูปร่างดีและสุขภาพแข็งแรงจำนวน 16 คน ใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยโรงพยาบาลโคโลราโดเป็นเวลา 2 สัปดาห์
โดยในช่วง 3 วันแรก ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกคนมีเวลานอนคืนละ 9 ชั่วโมงและให้ควบคุมการรับประทานอาหาร
หลังจากนั้นจึงแบ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้นอนคืนละ 5 ชั่วโมง ส่วนอีกกลุ่มได้นอนคืนละ 9 ชั่วโมง ในช่วง 5 วันต่อมา ในช่วงนี้ทั้งสองกลุ่มจะได้รับประทานอาหารปริมาณมากขึ้นและรับประทานของว่างได้ เช่น ไอศกรีม มันฝรั่งทอด ผลไม้ และโยเกิร์ต
หลังจากนั้นทั้งสองกลุ่มจึงสลับพฤติกรรมการนอน นักวิจัยจะวัดพลังงานที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยใช้ไปโดยติดตามปริมาณออกซิเจนที่พวกเขาหายใจเข้าไปและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่พวกเขาหายใจออกมา
ผลปรากฏว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนที่นอนหลับ 5 ชั่วโมง เผาผลาญพลังงานมากกว่าคนที่ได้นอนหลับ 9 ชั่วโมงร้อยละ 5 แต่มีปริมาณแคลลอรีที่บริโภคเข้าไปมากกว่าร้อยละ 6 โดยคนที่นอนน้อยมีแนวโน้มรับประทานอาหารเช้าน้อยกว่าแต่รับประทานของว่างหลังจากมื้อค่ำมากกว่า ซึ่งปริมาณแคลลอรีทั้งหมดในอาหารเหล่านั้นยังมากกว่าอาหารมื้อปกติด้วย
นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้ชายและผู้หญิงตอบสนองต่อการรับประทานอาหารได้ไม่จำกัดต่างกัน โดยทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเมื่อได้นอนเพียง 5 ชั่วโมง แต่ผู้ชายมีน้ำหนักมากขึ้นแม้ว่าจะได้นอนหลับอย่างเพียงพอเมื่อรับประทานอาหารได้มากตามที่ต้องการ ส่วนผู้หญิงยังมีน้ำหนักเท่าเดิมเมื่อได้นอนหลับเพียงพอไม่ว่าจะรับประทานอาหารไปมากเพียงใด
เนื่องจาก เมื่อคนเราตื่นนานกว่า ก็ต้องการพลังงานมากกว่า แต่ปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไปนั้น มากกว่าแคลลอรีที่ถูกเผาผลาญ จึงทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
การวิจัยครั้งนี้นักวิจัยมีผู้เข้าร่วมเป็นวัยรุ่นหนุ่มสาวรูปร่างดีและสุขภาพแข็งแรงจำนวน 16 คน ใช้ชีวิตอยู่ในมหาวิทยาลัยโรงพยาบาลโคโลราโดเป็นเวลา 2 สัปดาห์
โดยในช่วง 3 วันแรก ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกคนมีเวลานอนคืนละ 9 ชั่วโมงและให้ควบคุมการรับประทานอาหาร
หลังจากนั้นจึงแบ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกได้นอนคืนละ 5 ชั่วโมง ส่วนอีกกลุ่มได้นอนคืนละ 9 ชั่วโมง ในช่วง 5 วันต่อมา ในช่วงนี้ทั้งสองกลุ่มจะได้รับประทานอาหารปริมาณมากขึ้นและรับประทานของว่างได้ เช่น ไอศกรีม มันฝรั่งทอด ผลไม้ และโยเกิร์ต
หลังจากนั้นทั้งสองกลุ่มจึงสลับพฤติกรรมการนอน นักวิจัยจะวัดพลังงานที่ผู้เข้าร่วมการวิจัยใช้ไปโดยติดตามปริมาณออกซิเจนที่พวกเขาหายใจเข้าไปและปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่พวกเขาหายใจออกมา
ผลปรากฏว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนที่นอนหลับ 5 ชั่วโมง เผาผลาญพลังงานมากกว่าคนที่ได้นอนหลับ 9 ชั่วโมงร้อยละ 5 แต่มีปริมาณแคลลอรีที่บริโภคเข้าไปมากกว่าร้อยละ 6 โดยคนที่นอนน้อยมีแนวโน้มรับประทานอาหารเช้าน้อยกว่าแต่รับประทานของว่างหลังจากมื้อค่ำมากกว่า ซึ่งปริมาณแคลลอรีทั้งหมดในอาหารเหล่านั้นยังมากกว่าอาหารมื้อปกติด้วย
นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้ชายและผู้หญิงตอบสนองต่อการรับประทานอาหารได้ไม่จำกัดต่างกัน โดยทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเมื่อได้นอนเพียง 5 ชั่วโมง แต่ผู้ชายมีน้ำหนักมากขึ้นแม้ว่าจะได้นอนหลับอย่างเพียงพอเมื่อรับประทานอาหารได้มากตามที่ต้องการ ส่วนผู้หญิงยังมีน้ำหนักเท่าเดิมเมื่อได้นอนหลับเพียงพอไม่ว่าจะรับประทานอาหารไปมากเพียงใด